วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยที่สวยที่สุด


อันดับที่? 10 เกาะตะปู
เกาะตะปู
เกาะตะปู


เกาะตะปู ตั้งอยู่ในบริเวณทะเลด้านนอก ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา คิดเป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร จากที่ทำการอุทยานฯตามลำคลองเกาะปันหยีจังหวัดพังงา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย อยู่ทางด้านเหนือในเวิ้งอ่าวของเกาะเขาพิงกัน เกาะตะปู มีลักษณะเป็นเกาะเดี่ยว รูปร่างคล้ายตะปู มีศัพท์เฉพาะทางธรณีวิทยาว่า เกาะหินโด่ง (Stack) การชมเกาะตะปูต้องชมในระยะไกลจากเรือ หรือจากสันดอนของเกาะเขาพิงกัน ไม่สามารถขึ้นไปบนเกาะได้
อันดับที่ 9? เกาะเต่า
เกาะเต่า
เกาะเต่า มีพื้นที่อยู่ในฝั่งของทะเลอ่าวไทย และอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะของ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย เกาะเต่า จะมีลักษณะที่โค้งเว้า เหมือนกับเมล็ดถั่ว ซึ่งเกาะเต่า จะตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ เกาะพงัน จ.สุราษฏร์ธานี ระยะทางจากเกาะพงันถึงเกาะเต่า ประมาณสี่สิบห้ากิโลเมตร นอกจากนี้ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? ในบริเวณใกล้เคียงกับเกาะเต่ายังมีเกาะนางยวนซึ่ง เป็นเกาะเล็กๆ ด้านตะวันตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะเต่า มีสันทรายเชื่อมต่อกับเกาะเต่าในลักษณะเหมือนทะเลแหวก เป็นแหล่งดำน้ำชมปะการังอีกแห่งหนึ่ง
อันดับที่ 8? อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
ดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
ในวันที 13 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2521 คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้ประกาศให้ดอยอินทนนท์เป็นอุทยานแห่งชาติ
อันดับ 7 หัวหิน
หัวหิน huahin
หัวหิน เป็นอำเภอที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ? สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย เดิมมีชื่อว่า “บ้านสมอเรียง” หรือ “บ้านแหลมหิน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงสร้างวังไกลกังวลเพื่อประทับพักผ่อนในฤดูร้อน และปัจจุบันวังไกลกังวลนั้นเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน
อันดับ 6 พัทยา
พัทยา kohlan
พัทยา หรือ เมืองพัทยา เป็นเขตปกครองพิเศษเขตหนึ่งที่ตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ เมืองพัทยา ฉบับ วันที่ 29 พฤจิกายน พ.ศ. 2521 (เทียบเท่าเทศบาลนคร) ในเขตจังหวัดชลบุรี จัดเป็น สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? เมืองท่องเที่ยวนานาชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลกโดยเฉพาะหาดทรายที่ ทอดยาวไปตามแนวชายฝั่งทะเล จัดได้ว่า
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย มีความสวยงามอีกแห่งของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 140 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกของอ่าวไทย ซึ่งพัทยาแบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่ พัทยาเหนือ พัทยากลาง พัทยาใต้ และหาดจอมเทียน
อันดับที่ 5 เกาะ ช้าง
เกาะช้าง
เกาะ ช้าง เป็น?สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? ที่เกาะที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ต เกาะช้างมีโรงแรมและรีสอร์ตมากมาย ทำให้นักท่องเที่ยวนิยมมาดำน้ำ และด้วยภูมิประเทศที่มีป่าเขาอยู่กลางเกาะ นักท่องเที่ยวจึงสามารถท่องเที่ยวแบบเดินป่า ขี่ช้างก็ได้เช่นกัน
อันดับ 4 เกาะสมุย
เกาะสมุย
เกาะสมุย เดิมเกาะสมุยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกมะพร้าว ปัจจุบันเป็นสถานที่พักผ่อนตากอากาศที่ชาวต่างประเทศนิยมเดินทางมาท่อง เที่ยว มีร้านค้า โรงแรม และสถานบันเทิงต่าง ๆ มากมาย หาดที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของคนเกาะสมุย คือ หาดเฉวง บริเวณชายหาดยาวประมาณ 7 กิโลเมตร ถ้าได้ลงมือเดินตั้งแต่ต้นหาดจนกระทั่งถึงปลายหาดจะใช้เวลาประมาณถึง 2 ชั่วโมง เพราะการเดินบนผืนทรายไม่เหมือนการเดินบนพื้นดินปรกติ
หาดที่มีความสวยงามเป็นอันดับรองลงมา คือ หาดละไม หาดเชิงมนต์ แหลมโจรคร่ำ หาดท้องยาง หาดหน้าทอน หาดพังกา และหาดตลิ่งงาม นอกจากธรรมชาติที่สวยงามของอำเภอเกาะสมุยแล้ว ยังมีกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก คือ “สปา” หรือการดูแลรักษาสุขภาพโดยการใช้น้ำบำบัด เช่น การอาบ-การแช่น้ำแร่หรือน้ำร้อน
อันดับ 3 หมู่เกาะพีพี
หมู่เกาะพีพี
อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลอันดามันด้านทิศตะวันตกของภาคใต้? สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย? เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ รอบ ๆ เกาะมีปะการัง กัลปังหา ทิวทัศน์ใต้ทะเลที่งดงาม และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติคือภูเขาหินปูนที่มีหน้าผาเป็นชั้น ๆ ถ้ำที่สวยงาม ตลอดจนชายหาดยาวสะอาด สุสานหอย 40 ล้านปี ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 389.96 ตารางกิโลเมตร หรือ 243,725 ไร่
อันดับที่ 2 หมู่เกาะสิมิลัน
เกาะสิมิลัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา ปลาไหลมอเร่(moray) ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุด คือช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเกาะ
อันดับ 1 หาดป่าตอง
หาดป่าตอง อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 15 กิโลเมตร นับว่าเป็น สถาน ที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย หาดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของภูเก็ต เป็นชายหาด สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านดำน้ำ ร้านขายอุปกรณ์กีฬาทางน้ำ และอื่น ๆ อีกมากมาย ไว้คอยบริการแก่นักท่องเที่ยว ด้วยชายหาดที่มีความยาวกว่า 4 กิโลเมตร และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ป่าตองจึงเป็น สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่มีผู้นิยมมาเยือนมากที่สุด
หาด ป่าตองถูกถล่มโดยคลื่นสึนามิในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547ปัจจุบัน หาดป่าตองเป็นหนึ่งในชายหาดสำคัญที่ได้รับการติดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิ มีการซักซ้อมการอพยพและการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวอยู่อย่างสม่ำเสมอ เป็นระยะๆ

ที่มา http://www.tlcthai.com/travel/5735

การสืบค้นข้อมูล


1.  การค้นแบบนามานุกรม  (Directory)
หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง  ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่ม
จะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด
  ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรม
นี้มีข้อดีคือ
 ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ 
และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้ว
เว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.com , www.lycos.com ww.sanook.com,www.siamguru.com www.hotmail.com www.thaimail.com เป็นต้น
2.  การค้นหาแบบดรรชนี (Index)  หรือคำสำคัญ (Keywords)เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนีค้นที่เรียกว่า
Spider หรือ Robot หรือ Crawlerทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่แล้วนำคำที่ค้นมา
จัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ
 ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพ็จใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบ
นามานุกรมแต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย
 เช่น การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic)
หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator)  เป็นต้น  โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวด
หมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อยเนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร
3.  การค้นหาแบบ Metasearch Engines   จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง
Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด)
ดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
ในการค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น  เราสามารถค้นหาได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1.              การเข้าไปค้นหาในเว็บไซต์นั้นๆ โดยตรงเราทราบจากแหล่งข้อมูลนั้นๆอยู่แล้วว่าอยู่ที่URLอะไรหรือเว็บไซต์อะไร
วิธีการนี้มีข้อเสียเปรียบก็คือเราต้องทราบว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่เว็บไซต์ไหนหากเราไม่ทราบ ชื่อของเว็บไซต์หรือ URL
เราจะไม่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์นั้นๆ ได้เลย

หลักการในการเลือกใช้ Search Engine
ทำไมเราต้องทำความรู้จักกับประเภทของ Search Engine หากคุณเกิดคำถามนี้ขึ้นในใจ นั่นหมายความว่า คุณยังไม่รู้จัก การ Search Engin ดีพอ เพราะวิธีการ และการจัดเก็บข้อมูลของแต่ละ Search Engine แตกต่างกันไปตามแต่ประเภทของ Search Engin ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล 

ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป ที่นี้เราลองมาดูซิว่า Search Engine ประเภทใดที่เหมาะกับการค้นหาข้อมูลของคุณ 
1. Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อย ๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึง อ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษาคำสั่งในการสร้างเว็บเพจ (ภาษา HTML) หรือเรียก TAG ซึ่งอยู่ในรูปแบบ และข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสังของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา 
วิธีการค้นหาของ Search Engin ประเภทนี้ จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางทางกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ไม่เลว 

2. Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล ของการSearch Engin ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการ พินิจวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้ จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคน ว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้น ๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร 
ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engin ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ เด็ก Search Engin ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับเด็กล้วน ๆ มาให้คุณ 
3. Metasearch Engines จุดเด่นของการ Search Engin ด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engin ประเภทอื่น ๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การ search ด้วยวิธีนี้ มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engin แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย 

บทสรุปของการเลือกใช้ Search Engine คือ คุณจะต้องเข้าใจว่า วิธีการแต่ละวิธีมีจุดเด่นและจุดด้อย แตกต่างกันไป ฉะนั้นหากคุณจะค้นหาข้อมูลละก็ คุณต้องเลือกวิธีการค้นหาข้อมูลที่เหมาะสมกับ ความละเอียดถูกต้อง ของข้อมูลที่คุณต้องการด้วย


เทคนิคการสืบค้นข้อมูล 
  โดยทั่วไป การค้นหาสารสนเทศจากแหล่งสารสนเทศหรือจากเครื่องมือค้นหา อาจจะมีความคล้ายหรือแตกต่างกันไป ผู้ใช้อาจจะต้องเสียเวลาทำความเข้าใจการใช้และเทคนิควิธีการค้นหา เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและตรงกับความต้องการให้มากที่สุด
เทคนิคการสืบค้นข้อมูล หมายถึง วิธีการต่างๆ ที่ใช้ประกอบในการสร้างประโยคการค้นหา เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด เทคนิคในการค้นหานั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การค้นหาพื้นฐานหรืออย่างง่าย (Basic Search) และการค้นหาแบบซับซ้อนหรือขั้นสูง (Advanced Search)
         ก่อนจะเริ่มต้นการค้นหา ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? 
         1. ผู้ค้น จะต้องทราบว่าตนเอง ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด นอกจากนี้จะต้องมีข้อมูลส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการจะค้นหา (ลองสำรวจตัวเองก่อนสิคะว่า มีข้อมูลอะไรบ้างตอนนี้) ถ้ายังไม่มี คิดค่ะคิด...ใช้หมองหน่อย...ได้หรือยังคะ  ได้แล้วจดไว้ค่ะ ....
         หรือหากคิดไม่ออกจะช่วยคิดค่ะ ง่ายๆ เช่น รู้จักชื่อผู้แต่งมั๊ย รู้จักชื่อเรื่องที่เราต้องการค้นหาหรือไม่ ถ้าไม่รู้ให้กำหนดหัวเรื่องหรือคำสำคัญแทนก็ได้ค่ะ เดี๋ยวจะพูดต่อไป....
         2. รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหาหรือยังคะ เช่น ถ้าคุณต้องการค้นหารายการบรรณานุกรมงานวิจัยของห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ควรจะใช้ฐานข้อมูลใดค้นหา จึงจะได้ข้อมูลตามที่ต้องการ เป็นต้น 
         ดังนั้น สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ผู้ค้นจะต้องรู้จักแหล่งสารสนเทศและฐานข้อมูลหรือเครื่องมือค้นหาที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ต้องการ ซึ่งปัจจุบันนี้มีมากมายทั้งฟรีและบริการเชิงพาณิชย์ (มารู้จักฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และวิธีการค้นหาแบบง่ายๆ ได้ที่นี่)
         3. ต้องรู้จักวิธีการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูลหรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา เช่น รู้จักวิธีค้นหาแบบพื้นฐาน หรือหากจะให้ดีก็ควรรู้จักการค้นหาแบบขั้นสูงด้วย นอกจากนี้ยังต้องรู้จักวิธีการจัดการผลลัพธ์ ได้แก่ การบันทึก การสั่งพิมพ์ การส่งข้อมูลทาง E-mail การจัดการรายการบรรณานุกรม เป็นต้น
         4. รู้จักกฏ กติกา มารยาทในการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูลหรือเครื่องมือค้นหา เนื่องจากปัจจุบันได้มีการละเลิดลิขสิทธิ์กันมากขึ้น
          เทคนิคการสืบค้นข้อมูล
          1. การค้นหาแบบพื้นฐาน (Basic Search) เป็นการค้นหาสารสนเทศอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน โดยใช้คำโดดๆ หรือผสมเพียง 1 คำ ในการสืบค้นข้อมูล โดยส่วนใหญ่การค้นหาแบบง่ายจะมีทางเลือกในการค้นหา ได้แก่
              1.1  ชื่อผู้แต่ง (Author) เป็นการค้นหาโดยใช้ชื่อของบุคคล กลุ่มบุคคล นามปากกา หรือชื่อหน่วยงาน/องค์กร ที่เป็นผู้แต่งหรือเขียนหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ ซึ่งมีหลักการค้นหาง่ายๆ ดังนี้
                     1.1.1 ผู้แต่งคนไทย เป็นการค้นหาชื่อบุคคล ตัวอย่างเช่น กุลธิดา  ท้วมสุข ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก เช่น นาย นาง นางสาว หรือหากเป็นบุคคลที่มีบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ ให้ค้นด้วยชื่อ และต่อท้ายด้วยบรรดาศักดิ์หรือฐานันดรศักดิ์ หากเป็นการค้นหาชื่อที่เป็น นามปากกา ฉายาหรือสมณศักดิ์ ให้ค้นหาตามนามปากกา ฉายา หรือสมณศักดิ์
              ยกตัวอย่างเช่น
                     - นางกุลธิดา  ท้วมสุข            ชื่อที่ใช้ค้น คือ  กุลธิดา  ท้วมสุข  (ให้ตัดคำนำหน้าชื่อออก)
                     - ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมท        ชื่อที่ใช้ค้น คือ  คึกฤทธิ์ ปราโมท, ม.ร.ว.
                                                                                  (ให้เอาบรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์ มาต่อท้ายชื่อ)
                     - ร.ต.อ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์   ชื่อที่ใช้ค้น คือ  ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (ให้ตัดยศหรือตำแหน่งออก)
                     - พระยาอุปกิตติศิลปสาร         ชื่อที่ใช้ค้น คือ  พระยาอุปกิตติศิลปสาร  
                     - ว.วชิรเมธี                          ชื่อที่ใช้ค้น คือ  ว.วชิรเมธี  
                     - พระครูวิมลคุณากร               ชื่อที่ใช้ค้น คือ  พระครูวิมลคุณากร              
                     1.1.2 ผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้ค้นหาโดยใช้ ชื่อสกุล ตามด้วยชื่อกลางและชื่อต้น
              ยกตัวอย่างเช่น
                     "Judith G. Voet"                  ชื่อที่ใช้ค้น  คือ    Voet, Judith G.
                                                                                     หรือ   Voet, Judith
                                                                                      หรือ   Voet
                     1.1.3 ผู้แต่งที่เป็นหน่วยงาน/องค์กร ให้ค้นหาตามชื่อหน่วยงานหรือชื่อองค์กรนั้น เช่น การค้นหาชื่อหน่วยงานที่มีทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย ให้ค้นหาโดยใช้ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน แล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานย่อย หากเป็นชื่อย่อ เมื่อค้นหาให้ใช้ชื่อเต็ม
              ยกตัวอย่างเช่น
                     -สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อที่ใช้ค้น คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักวิทยบริการ
                     - ททท.  ชื่อที่ใช้ค้น คือ การท่องเที่ยวแห่ประเทศไทย
              1.2  ชื่อเรื่อง (Title) เป็นการค้นหาข้อมูล ด้วยชื่อเรื่อง เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ ชื่อเรื่องสั้น นวนิยาย ชื่องานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ การค้นโดยใช้ชื่อเรื่องนี้ เป็นการค้นหาแบบเจาะจง ดังนั้นผู้ค้น ต้องรู้จักชื่อเรื่อง หลักการค้นหาด้วยชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ใช้หลักการเดียวกัน คือ ค้นหาตามชื่อนั้นๆ ได้เลย โดยระบบจะทำการค้นหาจากชื่อเรื่อง เริ่มจากอักษรตัวแรกและตัวถัดไปตามลำดับ
               ยกตัวอย่างเช่น
                     - เพลงรักในสายลมหนาว   (ชอบดูมาก..ชึ้ง..แถมพระเอกหล๊อ..หล่อ)
                     - อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้เริ่มต้น  (เรื่องนี้ก็ชื่นชอบผู้แต่ง อ. ยืน ภู่วรวรรณ)
                     - Engineering Analysis  (เรื่องนี้ไม่อ่าน เพราะเดี๋ยวเจ็บหัว)
              1.3 หัวเรื่อง (Subject Heading) คือ คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ 
              หัวเรื่องที่ใช้ในการค้นหานั้น มาจากที่ไหนใครเป็นผู้กำหนดขึ้น? โดยปกติแล้วคำหรือวลีที่กำหนดให้เป็นหัวเรื่อง จะนำมาจากคู่มือหัวเรื่องที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในห้องสมุดหรือหน่วยงานที่ให้บริการสารสนเทศ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ (โอย...เรื่องมันย๊าววว...ยาว...) ว่างๆ จะเล่าให้ฟังเกี่ยวกับหลักการให้หัวเรื่องต่อไป...เพื่อจะได้ค้นเก่งๆ 
              แต่ตอนนี้..เอาเป็นว่า ง่ายๆ สั้นๆ  ให้นึกถึง หัวเรื่องใหญ่และเรื่องย่อยเอาไว้ เช่น หัวเรื่องที่ต้องการค้นหา คือ คณิตศาสตร์ นี่คือหัวเรื่องใหญ่ ภายใต้หัวเรื่องใหญ่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ จะมีเรื่องย่อยๆ ซ่อนอยู่เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร เป็นต้น
              1.4 คำสำคัญ (Keywords) คือ การค้นหาด้วยคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนเรื่องที่ต้องการค้นหา โดยทั่วไปคำสำคัญจะมีลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ได้ใจความ มีความหมาย เป็นคำนามหรือเป็นศัพท์เฉพาะในแต่ละสาขาวิชา 
              จะกำหนดคำสำคัญอย่างไรง่ายๆ คือ กำหนดมาจากคำที่อยู่ในชื่อเรื่องและหัวเรื่องที่เราต้องการค้นหานั่นเอง
              การค้นหาด้วยคำสำคัญนั้น ระบบจะทำการค้นหาคำที่ปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง ไม่ว่าจะอยู่ต้นเรื่อง กลางเรื่องหรือท้ายเรื่อง
               ยกตัวอย่าง การกำหนดคำสำคัญเพื่อใช้ค้นหา เช่น
               รายงานการวิจัย เรื่อง การปรับปรุงคุณภาพและการเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิที่มีความสามารถในการทนแล้งโดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม
               ผู้ค้น จะต้องดึงคำสำคัญที่อยู่ในชื่อเรื่องออกมา เพื่อใช้ค้นหา ซึ่งก็ไม่ยากหากดูข้อ 1.4 ประกอบ จากชื่อเรื่องดังกล่าว พบว่า มี Keyword หลักๆ อยู่ 3 คำ ด้วยกัน คือ ข้าวหอมมะลิ, เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุวิศวกรรม นี่คือตัวอย่างง่ายๆ ของการกำหนดคำสำหรับใช้ค้นหา
               รู้จักการค้นหาแบบง่ายๆ กันแล้ว ลองมาดูการค้นหาแบบขั้นสูงกันบ้างนะคะ...
          2. การค้นหาแบบขั้นสูง (Advanced Search) เป็นการค้นหาที่ซับซ้อนมากกว่าแบบพื้นฐาน ซึ่งมีเทคนิคหรือรูปแบบการค้นที่จะช่วยให้ผู้ค้นสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหาหรือค้นแบบเจาะจงได้มากขึ้น เพื่อให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด 
             2.1 การสืบค้นข้อมูล โดยใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic) หรือการค้นหาโดยใช้ Operator เป็นการค้นหา โดยใช้คำเชื่อม 3 ตัว คือ AND, OR, NOT ดังนี้
                  - AND ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง เช่นต้องการค้นหาคำว่าสัมตำที่เป็นอาหาร มีรูปแบบการค้นดังนี้  คือ    ส้มตำ AND อาหาร หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ และคำว่า อาหาร
                  - OR ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น เช่น สัมตำไทย OR ส้มตำปูปลาร้า (โอย..น้ำยาย..ไหยยยย..แซ๊บ..แซบ..เด้อ) หมายถึง ต้องการค้นหาคำว่า สัมตำไทย และ ส้มตำปูปลาร้า หรือค้นหาคำใดคำหนึ่งก็ได้ 
                  - NOT ใช้เชื่อมคำค้น เพื่อจำกัดขอบเขตให้แคบลง เช่น ต้องการค้นหาคำว่า ส้มตำ AND อาหาร NOT เพลงหมายถึง ต้องการค้นหา คำว่า ส้มตำ ที่เป็นอาหาร ไม่เอาส้มตำที่เป็นเพลง เป็นต้น
             2.2 เทคนิคการตัดคำ (Truncation)
             2.3 เทคนิคการจำกัดคำค้น (Limit Search) หรือการใช้
 
  ที่มา  www.gotoknow.org › ... › สมุด  แหล่งสารสนเทศเพื่...

เว็บไซต์  search  engine  ที่ได้ความนิยม
    ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในที่สุด Google Chrome กลายเป็น web browser ที่มีผู้ใช้เยอะที่สุดในโลกไปแล้วครับเป็นไปอย่างเหนือความคาดหมายครับ เพราะในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา Browser ที่มีนิยมใช้สูงสุดตลอดการอย่างInternet Explorer ได้โดน Google Chrome โค่นไปเรียบร้อยแล้วครับ โดยยอดผู้ใช้จากการคำนวนของ StatCounter พบว่ามีผู้ใช้ Google Chrome โดยเฉลี่ยสูงกว่ายอดผู้ใช้ Internet Explorer เป็นครั้งแรกมากกว่า 7 วันเต็มๆ 
โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม ไปจนถึง 20 พฤษภาคม โดยคิดเป็นเปอร์เซนต์ได้ 32.76%  ส่วน Internet Explorer ทำได้ 31.94% ครับ ส่วนค่ายอื่นๆ อย่าง Mozilla Firefox ทำยอดได้ 25.47% อย่างไรก็ตาม เมื่อเริ่มต้นสัปดาห์นี้Google Chrome มียอดที่ตกลง เหลือ 31.8% แต่ก็ยังแซงหน้า Internet Explorer ที่ทำยอดได้ 31.47% อยู่ดีครับ


เริ่มต้นค้นหาเว็บด้วย Google
1.             เข้าไปยังเว็บ www.google.com หรือ www.google.co.th? ปกติแล้วจะพาเราเข้าไปที่ google.co.th เพราะว่าเราใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย (กูเกิล เขาสามารถตรวจสอบได้)
2.             พิมพ์คำที่ต้องการค้นหาในช่องว่าง? เช่นคำว่า ?ไอที? เป็นต้น (ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย ??)
3.             กดปุ่ม ?ค้นหาด้วย Google?
4.             แค่นี้ก็จะได้ผลลัพธ์ตามที่คุณใส่ไว้แล้ว

ค้นหาแบบละเอียดด้วย (Boolean) 
ต่อไปนี้คือรายละเอียดการทำงานระบบเครื่องหมายตรรกะ (Boolean) ที่ใช้ในช่องพิมพ์การค้นหา
ในการค้นหาโดยใช้ค่าอัตโนมัติ (กรณีที่ไม่ได้ใช้ทั้ง + หรือ -) คำที่ใช้ค้นหาอาจถูกละเว้น ทว่าผลการค้นหาที่ประกอบด้วยคำค้นหาดังกล่าวจะได้รับการจัดลำดับสูงกว่า
+ เครื่องหมายบวกหน้าคำค้นหา มีความหมายว่า ต้องมีคำนี้ ในแต่ละแถวของผลลัพธ์การค้นหา
- เครื่องหมายลบหน้าคำค้นหา มีความหมายว่า ต้องไม่มีคำนี้ในผลลัพธ์การค้นหาที่ได้
( ) เครื่องหมายวงเล็บจะใช้ในกรณีที่ต้องการจัดกลุ่มคำให้เป็นข้อความย่อย (Subexpressions) โดยสามารถจัดกลุ่มคำในวงเล็บซ้อนๆกัน
~ ในกรณีที่ใช้เครื่องหมาย Tilde (~) นำหน้าคำค้นหา เครื่องหมายจะทำหน้าที่ลบล้างความสำคัญของคำนั้นๆในเนื้อหา วิธีนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในกรณีที่ต้องการกรอง "คำส่วนเกิน" ผลการค้นหาที่ประกอบด้วยคำดังกล่าว จะถูกจัดลำดับให้อยู่ในลำดับท้ายๆ ทว่าจะไม่ถูกตัดออกไปเสียทีเดียว ซึ่งต่างจากกรณีที่ใช้เครื่องหมายลบ (-)
* เครื่องหมายดอกจันจะทำหน้าที่เป็นตัวตัดตอน แต่เครื่องหมายดอกจันต่างจากเครื่องหมายอื่นๆ เนื่องจากต้องใช้ตามหลังคำค้นหาถึงจะให้ผล
" การค้นหาโดยการวางวลีในภายเครื่องหมายคำพูด ("...") จะให้ผลเฉพาะเนื้อหาที่ประกอบด้วยวลีนั้นๆ ตามที่ได้พิมพ์ลงไป
ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงการค้นหาโดยใช้คำสั่งตรรกะ (Boolean Operators):
word1 word2
ค้นหาเนื้อหาที่ประกอบด้วยคำใดคำหนึ่งจากสองคำนี้
+word1 +word2
ค้นหาเนื้อหาที่ประกอบด้วยทั้งสองคำ
+word1 word2
ค้นหาเนื้อหาที่ประกอบด้วยคำว่า "word1" แต่ให้จัดลำดับผลการค้นหาให้สูงกว่าปกติในกรณีที่มีคำ "word2"อ ยู่ร่วมด้วย
+word1 -word2
ค้นหาเนื้อหาที่ประกอบด้วยคำว่า "word1" แต่ไม่มีคำ "word2"อ ยู่ร่วมด้วย
word*
ค้นหาเนื้อหาที่ประกอบด้วยคำเช่น "word", "word'", "word2" และ " word1000"
"some words"
ค้นหาเนื้อหาที่ประกอบด้วยวลี "some words" โดยต้องเรียงตามลำดับคำในวลี (ตัวอย่างเช่น ต้องเป็นเนื้อหาที่ประกอบด้วยวลี "some words of wisdom" แต่ไม่ใช่เนื้อหาที่มี "some noise words")


การค้นหาแบบเจาะจงประเภทไฟล์

อีกขั้นของการค้นหาไฟล์

ปกิตแล้วเวลาเราต้องการค้นหาข้อมูลใดๆ ก็เพียงแค่พิมพ์คำที่เราต้องการเท่านั้น แต่ถ้าเราต้องการประเภทไฟล์แบบเฉพาะเจาะจง เราก็ยังสามารถสั่งให้ Google ค้นหาเฉพาะไฟล์ที่เราต้องการได้ เรียกว่า เรากำหนดประเภทของไฟล์ได้เลย?ส่วนเราจะต้องการประเภทไฟล์ไหน เราก็ควรทราบก่อนว่าไฟล์นั้นๆ มีนามสกุลอะไร

ประเภทไฟล์และนามสกุลไฟล์

·         DOC หรือ DOCXไฟล์เอกสารที่สร้างจากโปรแกรม Microsoft Word
·         XLS หรือ XLSX ไฟล์เวิร์คชีต ที่สร้างจากโปรแกรม Microsoft Excel
·         PPT หรือ PPTX ไฟล์พาวเวอร์พอยท์ ที่สร้างจากโปรแกรม Microsoft PowerPoint
·         PDF ไฟล์ที่ถูกแปลงจากไฟล์ประเภทต่างๆ ที่สร้างจากโปรแกรม Adobe Acrobat หรือฟรีโปรแกรมอื่นๆ
·         SWF ไฟล์ภาพเคลื่อนไหว หรือ Flash File เป็นไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรม Adobe Flash

วิธีการค้นหาแบบเจาะจงประเภทไฟล์

1.             เปิด Google ขึ้นมา
2.             พิมพ์คำว่า filetype:doc ตามด้วยชื่อไฟล์ที่ต้องการ เช่น Google Tips เป็นต้น
ตัวอย่างการพิมพ์แบบเต็ม
filetype:doc Google Tips
3.             ความหมายคือ ต้องการค้นหาไฟล์ที่มีนามสกุล .DOC และชื่อไฟล์ที่มีคำว่า "Google Tips" อยู่ในไฟล์นั้นๆ
แค่นี้เราก็สามารถค้นหาประเภทไฟล์ได้อย่างรวดเร็ว แถมยังอาจสามารถนำไปใช้เป็นคู่มือในการทำรายงานได้สะดวกด้วยน่ะครับ ส่วนไฟล์เพลง ก็ให้ไปอ่านหัวข้อ "Google ตอนที่ 8 - ค้นหาเพลง MP3" ได้เลยครับ สำหรับรูปภาพก็เช่นเดียวกัน ให้ไปอ่านได้ที่หัวข้อ "Google ตอนที่ 5? ค้นหารูปภาพ เพื่อใช้ทำรายงาน"

ที่มา www.it-guides.com/...a.../1479-google-tutorial-part-xi

การค้นหารูปภาพ
Google นั้นมีความสามารถในการหารูปภาพ (Image) และหลาย ๆ ท่านอาจเคยทราบ และใช้งานอยู่แล้ว
วันนี้ จะนำเสนอวิธีการค้นหาภาพที่ใกล้เคียงกันด้วยรูปภาพที่มีอยู่แล้ว
1. เข้า google แล้วคลิกที่ tab "Images" หรือ "รูปภาพ"
2. ลากภาพที่ต้องการค้นหา ไปวางในช่องค้นหาภาพ จากนั้น google จะแสดงผลการค้นหาภาพที่ใกล้เคียงกับต้นฉบับให้ 
ที่มา : ComFixClub.com
 คุณเคยเจอแบบนี้ไหม ไปเจอรูปๆ หนึ่งหน้าเว็บ แล้วอยากจะหารูปนั้นแต่เป็นภาพที่มีขนาดใหญ่หรือรูปภาพอื่นๆ ที่เป็นชุดเดียวกันกับภาพนั้นๆวันนี้จะขอแนะนำวิธีการค้นหาภาพใกล้เคียงหรือภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย Google Image 
บางครั้งคุณอาจจะไปเจอรูปภาพที่ถูกใจรูปหนึ่งในอินเทอร์เน็ต แต่ภาพนั้นถูกย่อขนาดหรือลดคุณภาพของภาพ คุณอาจจะอยากได้ภาพนั้นที่มีขนาดใหญ่หรือมีความละเอียดมากกว่าภาพที่เจอ
วิธีการง่ายๆ ดังนี้
1. หากคุณเจอภาพที่ต้องการในหน้าเว็บไหน ให้คุณทำการเปิดหน้านั้นไว้ก่อน (เรียกอันนี้ว่าหน้าต่าง 1) 
2. ส่วนของโปรแกรมท่องเว็บ ให้คุณเลือกคำสั่ง เปิดหน้าต่างใหม่”  หรือ “Open New Windows” หรือ “New Windows” แล้วแต่ว่า คุณใช้โปรแกรมท่องเว็บอะไรอยู่ (เรียกอันนี้ว่าหน้าต่าง 2) ที่หน้าต่าง 2 ให้คุณพิมพ์ www.google.co.th หรือ www.google.com แล้วคลิ้กที่แท๊บ รูปภาพที่อยูด้านบนซ้าย จะเจอหน้านี้ 
3. หน้าจอของคุณจะเป็นประมาณนี้ ทางซ้ายเป็นที่อยู่ของรูปภาพที่ต้องการจะค้นหา ส่วนทางขวาเป็นหน้าค้นหาของ Google Image 
4. ให้คุณใช้เม้าส์คลิ้กค้างที่รูปจากหน้าต่าง 1 ลากมาวางที่จุดตามรูป ที่หน้าต่าง 2 
5. ระบบจะทำการค้นหาภาพที่เหมือนกับภาพนั้น โดยจะแสดงรายชื่อของลำดับการค้นหารวมทั้งขนาดของภาพ โดยแสดงอยู่ใต้รูปขนาดย่อ 
เมื่อคุณเลื่อนหน้าลงมาข้างล่าง ระบบจะแสดงภาพที่ระบบทำการประมวลผลแล้วว่า ภาพที่คล้ายกันด้วยครับ

 ที่มา  www1.si.mahidol.ac.th/nursing/ns/.../613-googleimage