วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สถานที่สำคัญของอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย

 
 
 
 
 
                                      
 
พระธาตุสัจจะ
พระธาตุสัจจะตั้งอยู่ที่วัดลาดปู่ หมู่3 บ้านท่าลี่ ตำบลท่าลี่ 
อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย การเดินทางไปมาตามถนนหมายเลข201 เมื่อมาถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏเล ขับต่อไปอีกประมาณสองกิโลจะเจอทางแยกให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปต่อทางหลวงหมายเลข 2115 ถนน เลย-ท่าลี่ องค์พระธาตุจะอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองท่าลี่ประมาณ2-3 กิโลเมตร ให้ไปทางถนน ท่าลี่-อาฮี ก็จะพบกับองค์พระธาตุอยู่ทางด้านฝั่งขวาของถนน องค์พระธาตุสัจจะประกอบไปด้วย ดอกบัวบานมีกลีบสามกลีบ สูง1เมตรอยู่รอบองค์พระธาตุ องค์พระธาตุมีความสูงทั้งหมด 33 เมตร มีเศวตฉัตร7ชั้น อยู่บนยอดสุดขององค์พระธาตุสัจจะใครที่มีโอกาสไปที่อำเภอท่าลี่ก็แวะไหว้องค์พระธาตุสัจจะได้นะครับ


ที่มา  www.เที่ยวเลย.com/2011/06/blog-post_13.html



                                                               

ต้นมะค่ายักษ์เป็นต้นมะค่าขนาดใหญ่ วัดโดยรอบโคนต้นยาว 978 เซนติเมตร อยู่ภายในเขตป่าภูผาแง่ม ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 บ้านยาง ตำบลท่าลี่ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย อยู่ห่างจากอำเภอท่าลี่ไปทางทิศใต้ 12 กิโลเมตร ระหว่างทางขึ้นไปบริเวณต้นมะค่ายักษ์ มีดอกไม้ป่าบานสะพรั่งสวยงามมากในช่วงฤดูหนาว

 ที่มา  www.thaitambon.com/tambon/ttrvList.asp?ID=420801


แก่งโตน อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
มีลักษณะเป็นพืดหินหรือโขดหินเกิดขึ้นตามธรรมชาติเรียงกันอย่างระเกะระกะกีดขวางทางน้ำไหลของแม่น้ำเหือง มีสภาพคล้ายน้ำตกขนาดเล็กตั้งอยู่ ณ บ้านปากห้วยตำบลหนองผืออยู่ห่างจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภอท่าลี่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ  10 กิโลเมตร อยู่ที่บ้านปากห้วย  หมู่ที่ 7 ตำบลหนองผือ อำเภอท่าลี่  จังหวัดเลย มีทิวทัศน์สวยงามเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนจำนวนมาก เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติเป็นแก่งหินที่ถูกน้ำกัดเซาะสลับซับซ้อนกั้นสองระหว่างฝั่งไทยและสปป.ลาว ฤดูฝนปริมาณน้ำมาก ฤดูร้อนน้ำน้อยเหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อน  มีแพทำด้วยไม้ไผ่ไว้บริการล่องแพแก่นักท่องเที่ยว

 ที่มา  www.เที่ยวเลย.com/2011/08/blog-post_8996.html





                                                          

ตั้งอยู่ที่บ้านนากระเซ็ง เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเหือง เชื่อมระหว่างไทย-สปป ลาว สะพานี้สามารถเดินทางผ่านไชยะบุรี สู่เมืองมรดกโลก คือ หลวงพระบางใต้ ระยะทาง 363 กม. หรือเดินทางข้ามไปท่องเที่ยวและซื้อสินค้าปลอดภาษี บริเวณร้านค้าใกล้สะพานฝั่ง สปป.ลาวได้
การเดินทาง ใช้เส้นทางเลย-ท่าลี่ ระยะทาง 47 กม. เมื่อถึงตัวอำเภอเลี้ยวขวาประมาณ 2 กม. ถึงพระธาตุสัจจะให้เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 7 กม. 
 
ที่มา  www.thai-tour.com/thai-tour/northeast/loei/.../pic_sapan.html


สถานที่ท่องเที่ยว จ.เลย



                                                     


สถานที่ท่องเที่ยวภูเรือ
ผาโหล่นน้อย เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม สามารถมองเห็นภูหลวง ภูผาสาด ภูครั่งและทะเลภูเขา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 3 กิโลเมตร กิจกรรม :ชมทิวทัศน์
ผาซำทองหรือผากุหลาบขาว เป็นหน้าผาสูงชันและเป็นแหล่งน้ำซับ ประกอบกับมีไลเคนที่มีสีเหลืองคล้ายสีทอง ซึ่งเรียกว่า “ผาซำทอง” เป็นจุดชมทิวทัศน์อีกจุดหนึ่ง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติตามเส้นทางที่จะไปผาโหล่นน้อยประมาณ 2.5 กิโลเมตร
น้ำตกห้วยไผ่ เป็นน้ำตกสูงชัน สูงประมาณ 30 เมตร ตั้งอยู่บริเวณลำห้วยไผ่ ในฤดูฝนปริมาณน้ำจะมาก จะมีสายน้ำที่ใสสะอาดพุ่งแรงลงมาจากบริเวณเป็นลำน้ำสายเดียวลงสู่แอ่งน้ำ ด้านล่าง ซึ่งแอ่งนี้สามารถที่จะลงเล่นน้ำได้ แต่ถ้าเป็นฤดูแล้งปริมาณน้ำจะน้อยแต่จะเห็นสายน้ำไหลลงสู่แอ่งน้ำข้างล่าง เช่นกันและมีลักษณะของความสวยงามที่แตกต่างกัน น้ำตกห้วยไผ่อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญในการใช้ทำน้ำประปาในอำเภอภูเรือ
ยอดภูเรือ เป็นจุดที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติ อยู่สูงประมาณ 1,365 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นหน้าผาสูงชัน พื้นที่โดยรอบปกคลุมด้วยป่าสนเขา ทั้งสนสองใบและสนสามใบ สลับกับลานหินธรรมชาติ ต้องเดินขึ้นเขาจากผาโหล่นน้อยมาประมาณ 700 เมตร จากจุดนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามได้รอบด้านกระทั่งเห็นแม่น้ำเหือง และแม่น้ำโขง ซึ่งกั้นพรมแดนไทย – ลาว บนยอดเรือยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาวาบรรพต ซึ่งชาวภูเรืออัญเชิญมาจากอยุธยาด้วย จากยอดภูเรือมีเส้นทางเดินป่าผ่านบริเวณที่มีดอกไม้เล็กๆ เช่น กระดุมเงิน ดาวเรืองภู เปราะภู ซึ่งออกดอกสวยงามในช่วงหน้าหนาว ที่ป่าสนบริเวณ ทุ่งกวางตาย มีดอกกระเจียวบานในช่วงต้นฤดูฝนราวเดือนพฤษภาคม นอกจากนั้นยังมี ลานหินพานขันหมาก เป็นลานหินแตกเป็นรอยตื้นๆ ที่จะพบดอกไม้ที่ชอบขึ้นตามลานหิน เช่น เอื้องม้าวิ่ง อยู่ทั่วไป เส้นทางเดินป่าจะวกกลับไปลานกางเต็นท์ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
สวนหินพาลี เป็นลานหินกว้างใหญ่ เต็มไปด้วยก้อนหินรูปทรงแปลกตาตั้งอยู่เรียงราย บางก้อนคล้ายเสาหินสูง บางก้อนคล้ายดอกเห็ด สวนหินพาลีอยู่ใกล้บริเวณลานกางเต็นท์
กิจกรรม :เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา
ถ้ำไทร อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ 2 (ภูสน) ประมาณ 500 เมตร ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถ้ำไทรเป็นถ้ำหินทราย ปากทางเข้าถ้ำจะแคบมากต้องลงในทางดิ่งประมาณ 30 เมตร เมื่อถึงที่ราบภายในถ้ำจะเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 30 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ภายในถ้ำประกอบด้วยหินทรายเป็นแผ่นๆ ซึ่งจะอยู่ตามเพดานถ้ำ ส่วนพื้นล่างจะเป็นลักษณะเม็ดทรายที่ไหลมากับน้ำ และในบริเวณปลายสุดของถ้ำจะมีสายธารน้ำไหลตลอดเวลา บางช่วงจะมีลักษณะเป็นน้ำตกที่เกิดภายในถ้ำ และเมื่อสายน้ำกระทบแสงไฟจะเกิดเป็นประกายที่สวยงาม ภายในถ้ำจะมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

ซับหนองหิน ซับหนองหินเป็นแหล่งน้ำซับที่เกิดขึ้น เองตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นแอ่งน้ำไหลลงสู่ร่องน้ำบริเวณหลังศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ 1(ที่ทำการ) ในช่วงที่มีน้ำปริมาณมากสามารถลงเล่นน้ำได้ และมีนกนานาชนิดอาศัยหากินอยู่โดยรอบบริเวณ

น้ำตกห้วยเตย เป็นน้ำตกขนาดเล็กมีลักษณะเป็นลำน้ำสอง สายมาบรรจบกัน แล้วไหลลงสู่แอ่งน้ำเดียวกัน แต่จะมีความสวยงามในเฉพาะหน้าฝนเท่านั้นเพราะมีปริมาณน้ำมาก อยู่ใกล้กับศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ 2 (ภูสน)

น้ำตกหินสามชั้น ป็นน้ำตกขนาดเล็ก ลักษณะของตัวน้ำตกเป็นชั้นหินลดหลั่นกันไป 3 ชั้น จนถึงตัวแอ่งน้ำด้านล่าง น้ำตกหินสามชั้นสามารถลงเล่นได้ โดยตั้งอยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวที่ 2 (ภูสน) ประมาณ 300 เมตร ในฤดูฝนจะมีปริมาณน้ำมากทำให้เกิดเป็นทิวทัศน์ที่สวยงามยิ่ง ในช่วงที่มีหมอกปกคลุมจะทำให้สวยงามไปอีกแบบ

ลานสาวเอ้ มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้ากว้าง สลับกับป่าเต็งรัง เป็นจุดที่สามารถชมทัศนียภาพได้กว้างไกลของพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเรือได้ อีกด้วย บริเวณนี้ทางอุทยานแห่งชาติภูเรือได้จัดสร้างศาลาพักผ่อนไว้ให้นักท่อง เที่ยวสามารถพักชมวิวเมื่อเวลาเดินมาถึงบริเวณลานสาวเอ้

หินค้างอ้อ ตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณหินวัวนอน หินค้างหม้อมีลักษณะเป็นก้อนหิน 3 ก้อน มาวางเรียงกันและมีหินก้อนใหญ่อีกก้อนหนึ่งวางอยู่ข้างบนมีลักษณะเป็นหม้อ ที่วางไว้บนก้อนหินทั้ง 3 ก้อน เหมือนกับการประกอบอาหาร

อำเภอภูเรือ นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีอากาศเย็นสบายตลอดปี และมีสถานที่ท่องเที่ยว มากมายแล้ว อำเภอภูเรือ ยังเป็นแหล่งผลิต ไม้ดอกไม้ประดับ ที่สวยงามขึ้นชื่อ
แห่งหนึ่งของประเทศอีกด้วย... นอกจากนั้น ภูเรือยังเป็นแหล่งผลิต ขิง กระชายดำ ส้มโชกุน องุ่น ลำไย ผักปลอดสารพิษ และพืชผักประเภท ไม้เมืองหนาวอื่นๆอีกมากมาย...
หากท่านมาเที่ยวภูเรือแล้ว... ท่านจะได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี จาก เจ้าของสวนหรือเจ้าของไร่ต่างๆ ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมและ สัมผัสกับบรรยากาศภายในไร่/สวน
ถือเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ได้ ทั้งความสุขและความรู้ไปพร้อมๆกัน
ตัวอย่างแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร :-


ที่มา

สถานที่ท่องเที่ยวภูเรือ

         
สวนหินผางาม  ตั้งอยู่ที่ บ้านผางาม ต.ปวนพุ กิ่ง อ.หนองหิน จ.เลย มีลักษณะเป็นเทือกเขาหินปูน มีความสูงอยู่เหนือระดับน้ำทะเลระหว่าง 500-750 เมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 9,000 ไร่ เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 2540 โดยได้เปิดพื้นที่ให้นักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมประมาณ 30 % นักวิชาการสันนิษฐานว่า เมื่อราว 225 ล้านปีที่แล้ว สวนหินแห่งนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน เพราะปรากฏซากฟอสซิลของสัตว์ทะเลให้เห็น
สำหรับการเที่ยวชมสวนหินผางามนั้นมี 2 วิธี คือ การนั่งรถอีแต๊กเข้าไปเที่ยวชมสำหรับคนมีเวลาน้อยหรือคนที่ไม่ต้องการเมื่อย ขาหรือเดินไม่ไหว ซึ่งจะพาไปยังจุดชมวิวแล้วให้เที่ยวบนนั้นสักพักก่อนกลับลงมา

โดยสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่นำชมสวนหินผางามได้ที่ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว หน้าเส้นทางเข้าสวนหิน (เจ้าหน้าที่ 1 คน ราคา 100 บาท ต่อนักท่องเที่ยวไม่เกิน 10 คน )ส่วนค่ารถอีแต๊กเที่ยวละ 10 บาท
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อบต.หนองหิน โทร. 08-1462-1719 หรือที่ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว จ.เลย โทร. 0-4281-2812

ที่มา



                          

อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย (นาแห้ว) ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาแห้ว ตำบลแสงภา ตำบเหลล่ากอหก อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย มีเนื้อที่ประมาณ 73,225 ไร่ หรือ 117.16 ตารางกิโลเมตร ด้วยสภาพขุนเขาที่สูงสลับซับซ้อนกันในพื้นที่ อำเภอนาแห้ว ประกอบกับเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ สภาพป่าโดยส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้น ซึ่งมีที่ราบน้อย จุดที่สูงที่สุดประมาณ 1,408 เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพอากาศค่อนข้างเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากความสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติซึ่งมีพันธุ์ไม้อยู่หนาแน่น ในช่วงฤดูหนาวอากาศค่อนข้างจะหนาวเย็น

ป่าผืนนี้เป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ ตามกฎกระทรวงที่ 1041 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2507 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 101 ตอนที่ 69 วันที่ 30 พฤษภาคม 2527 เป็นป่าโครงการไม้กระยาเลย บ้านนาท่อน-บ้านบุ่ง (ลย.8) ตอนที่ 7 และ 8 ผ่านการคัดเลือกเพื่อให้ตัดฟันไม้ออกแล้ว แต่ราษฎรตำบลแสงภา ได้รวมตัวกันเมื่อเดือนธันวาคม 2530-มกราคม 2531 คัดค้านมิให้ทำไม้ออกทางราชการได้พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วเห็นชอบตามราษฎรจึงระงับการทำไม้ไว้ก่อน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกการทำไม้ตามสัมปทานเสียทั้งหมด จึงเป็นการยุติการทำไม้ออกตามสัมปทานโดยสิ้นเชิง

การจัดตั้งป่าผืนนี้ให้เป็นป่าอนุรักษ์ในรูปอุทยานแห่งชาติ เนื่องจากกองอำนวยการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง อำเภอนาแห้ว ฝ่ายทหาร เริ่มแรกต้องการให้เป็นปอดของสมาชิกราษฎรอาสาป้องกันชายแดน แต่เมื่อตระหนักถึงประโยชน์ในการพักผ่อน ในลักษณะป่าเขาลำเนาไพรแล้ว เห็นว่าน่าจะอำนวยประโยชน์แก่ราษฎรโดยทั่วกันอีกด้วย จึงตัดสินใจหาลู่ทางกำหนดให้ป่านาแห้วเป็นอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับเนื่องในโอกาสครบ 3 รอบ หรือ 36 พระชนมพรรษาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2534 ซึ่งกรมป่าไม้เห็นชอบด้วยเป็นอย่างยิ่ง และตอบสนองความต้องการอนุรักษ์ป่าผืนนี้อย่างจริงจัง 

การสำรวจเบื้องต้นบนส่วนหนึ่งของพื้นที่จึงเริ่มขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลต่างๆ มาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติและคณะกรรมการชุดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติโดยได้พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ ในท้องที่ตำบลแสงภา ตำบลเหล่ากอหก และตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 52ก หน้า 54-56 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2537 โดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาตินาแห้ว นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 79 ของประเทศ 

ต่อมาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พิจารณาชื่ออุทยานแห่งชาติให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดเด่น และศักยภาพที่สำคัญของพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จึงเปลี่ยนชื่ออุทยานแห่งชาตินาแห้ว เป็นอุทยานแห่งชาติอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย 
 ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนตามแนวชายแดนไทย-ลาว สันเขามีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีความลาดเท ตั้งแต่ 2 เปอร์เซ็นต์ จนถึงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ด้านตะวันตกซึ่งเป็นพื้นที่ป่าผืนใหญ่ จะมีความลาดชันมาก พื้นที่ราบเชิงเขาเกือบจะไม่มี ด้านตะวันออกจะมีความลาดชันน้อย ลาดเทลงไปทางด้านตะวันออกมีที่ราบเชิงเขาอยู่บ้าง พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 600 - 1,408 เมตร มีภูสันทรายเป็นยอดเขาสูงสุด เป็นแหล่งน้ำน้ำลำธารของแม่น้ำเหือง และ แม่น้ำแพร่
 ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพอากาศค่อนข้างเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากความสมบูรณ์ของป่าธรรมชาติซึ่งมีพันธุ์ไม้อยู่หนาแน่น ในช่วงฤดูหนาวอากาศค่อนข้างจะหนาวเย็น
 พืชพรรณและสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติปกคลุมไปด้วยผืนป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีสัตว์ป่ามากมายหลายชนิดดังนี้ 
1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ เลียงผา เก้ง กระจง หมูป่า หมี เสือโคร่ง หมาไน อีเห็น บ่าง กระรอก ในป่านี้มีสัตว์ชนิดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า “ตัวหอน” มีลักษณะคล้ายเม่นอยู่เป็นกลุ่มหากินกลางคืนอาศัยตามหลืบหิน โพรงหิน ไม่ขุดรูอยู่ด้วยตนเองเหมือนเม่น 
2. นก ประกอบด้วย นกเหยี่ยว นกกระจิบ นกโพระดก นกกาเหว่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า พญาลอไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าหลังเทา นกกก นกแซงแซว เป็นต้น และมีนกชนิดหนึ่งเรียกว่า “นกกองกอด” ลักษณะเด่น คือ ที่ขามีเดือยมากกว่า 1 เดือย หางคล้ายนกยูง
3. สัตว์เลื้อยคลาน มี เต่าปูลู กิ้งก่า กะท่าง แย้ จิ้งเหลน ตะกวด แลน และงูชนิดต่างๆ ทั้งมีพิษและไม่มีพิษ ประเภทงูมักพบในป่าเบญจพรรณ
4. ปลา พบในลำน้ำเหืองและแม้แต่ลำห้วยเล็กๆ ก็มีปลาน้ำจืดอาศัยอยู่ในลำห้วย มีพวกปลาประเภทที่มีเกล็ด เช่น ตะเพียน ปลากะสูบ ปลาช่อน ปลาช่อนงูเห่า ปลาซิวและปลาขนาดเล็กอื่นๆ ปลาไม่มีเกล็ด คือ ปลาไหล ปลาหลด ไม่มีปลาขนาดใหญ่ 
ผู้เข้าชมข้อมูลของอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย : 41,439 คน/ครั้ง     
ปรับปรุง :  13 ธันวาคม 2555     
อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย
ต.แสงภา  อ. นาแห้ว  จ. เลย   42170
โทรศัพท์ 0 4280 7616 (VoIP)   อีเมล pssnp_loei@dnp.go.th

ที่มา  www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=23...




ภูกระดึง
ภูกระดึง ภูเขาที่มีความมหัศจรรย์ ของเมืองเลย
กันว่า....หากอยากพิสูจน์รักแท้ ให้พาคนที่เรารักไปร่วมพิสูจน์รักด้วยการเดินทางพิชิตยอดภูของ อุทยานแห่ง ชาติภูกระดึง และถ้าหากเขาคนนั้น สามารถร่วมเดินทางไปกับคุณจนกระทั่งถึงยอดดอย และคอยช่วยเหลือดูแลกันและ กันเป็นอย่างดีแล้วล่ะก็ เขาก็คือรักแท้ของเราเป็นแน่แท้!!!

นี่คือตำนานคำกล่าวขานที่มักได้ยินเสมอๆ เมื่อเอ่ยถึง ภูกระดึง หรือ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการที่เราจะขึ้นไปถึงยอดดอยได้ ต้องเดินเท้าเป็นระยะทางกว่า 9 กิโลเมตร คือขึ้นเขา 5 กิโลเมตร บวกทางราบอีกประมาณ 3-4 กิโลเมตร (โห...ไหวไหมเนี่ย) ซึ่งนอกจากจะมีคู่รัก

ไปสัมผัสพิสูจน์รักแท้แล้ว ภูกระดึง มักจะได้รับความนิยมในการไปแบบกลุ่มเพื่อนๆ อีกด้วย และ
ทุกคนที่ได้ไปสัมผัสต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ตอนเดินเหนื่อยมาก ๆ แต่พอได้ไปสัมผัสกับธรรมชาติข้างบน ภูกระดึง แล้วคุ้มค่าสุด ๆ

แหม ... มีเสียงการันตีความท้าทาย ผจญภัย และน่าไปสัมผัสแบบนี้คงอดใจไม่ได้แล้วที่จะไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภูกระดึง … เอาเป็นว่าเราไปทำความรู้จักอุทยานแห่งนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

ภูกระดึงอุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ภูกระดึง เป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นภูเขาหินทรายยอดตัด เป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร มีความสูง 400-1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่ได้รับความนิยมมากแห่งหนึ่งของเมืองไทย จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพทั่วไปของภูกระดึง ประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด พันธุ์สัตว์ป่านานาพันธุ์ หน้าผา ทุ่งหญ้า ลำธาร และน้ำตก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพอง ซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญสายหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยความสูง บรรยากาศ และสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดปี บนยอด ภูกระดึง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิอาจลดต่ำจนถึง 0 องศาเซลเซียส จึงเป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยว ปรารถนาและหวังจะเป็นผู้พิชิตยอด ภูกระดึง สักครั้งหนึ่งในชีวิต


ภูกระดึง
สำหรับการเดินทางขึ้น ภูกระดึง นั้น ทางอุทยานฯ จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นได้ตั้งแต่เวลา 07.00 - 14.00 น. ของทุกวัน และหลังจากเวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ทางอุทยานฯ จะไม่อนุญาต เพราะระยะทางในการเดินทางขึ้นเขาต้องใช้เวลาในการเดินเท้า ประมาณ 4-5 ชั่วโมง ซึ่งจะตรงกับเวลาพลบค่ำในระหว่างทาง ดังนั้น อาจจะทำให้เกิดความยากลำบาก อีกทั้งอาจได้รับอันตรายจากสัตว์ป่าที่ออกหากินในเวลากลางคืนอีกด้วย
          อย่างไรก็ตาม อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย จะเปิดฤดูท่องเที่ยวอีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 - 31 พฤษภาคม 2554 หลังปิดฟื้นฟูในช่วงฤดูฝน  

จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนภูกระดึง
ภูกระดึง, ผานกแอ่น
ผานกแอ่น  
เป็น ลานหินเล็กๆ มีสนต้นหนึ่ง ขึ้นโดดเด่นอยู่ริมหน้าผา เป็นจุดท่องเที่ยวชมพระอาทิตย์ขึ้น ที่สำคัญอยู่จากที่พักศูนย์วังกวางเพียง 2 กิโลเมตร ในทุกเช้าของหน้าหนาวจะมีนักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปกันมากและ มักจะมีการชิงทำเลดีๆ เสมอ สมัยนี้ทางไปมักมีช้างอาละวาด ตอนเช้าจะต้องไปพร้อมเจ้าหน้าที่เสมอ ห้ามไปเอง เป็นอันขาด นอกจากนั้น หากอากาศดีพอ ในช่วงเวลาที่เดินเท้าฝ่าความมืดมาชมพระอาทิตย์ขึ้นนั้น เป็นช่วงที่ประจวบเหมาะกับ เวลาที่พระจันทร์กำลังจะลับขอบฟ้า ด้านตะวันตกนั้นจะได้เห็นภาพสวยงามแปลกตาไปอีกแบบ ริมทางเดินใกล้ผานกแอ่นเป็นสวนหินมีดอกกุหลาบป่าขึ้นอยู่เป็นดงใหญ่ ซึ่งจะบานสะพรั่งเต็มต้นในเดือน มีนาคม-เมษายน และใครที่อยากไปชมประอาทิตย์ขึ้นที่ผานกแอ่น ควรเตรียมไฟฉายสำหรับใช้ส่องทางไปด้วย

ภูกระดึง
ผาหล่มสัก 
ผาหล่มสัก ถ้าไม่มาชมพระอาทิตย์ตกที่นี่ ก็เหมือนไม่ได้มาเยือนภูกระดึง…หลายคนถึงกับออกปากไว้แบบนั้น ตัวผาหล่มสักอยู่ห่างจากผาแดง 2.5 กิโลเมตร หากเดินมาจากแยกศูนย์โทรคมนาคมกองทัพอากาศ บนเส้นทางน้ำตก แต่ถ้าเดินจากที่พักศูนย์วังกวาง จะมีระยะประมาณ 9 กิโลเมตร หากจะมาต้องเตรียมตัวให้ดี เพราะขากลับจะมืดกลางทางอย่างแน่นอน ด้วยลักษณะแผ่นหินแปลกตากับโค้งกิ่งสนที่รองรับกันพอดิบพอดีเช่นนี้ นักท่องเที่ยวจึงนิยมจะใช้เป็นจุดชมวิว ดูดวงอาทิตย์ตกดิน และน่าจะถือได้ว่าเป็นภาพที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง แนะนำสักนิดสำหรับผู้ที่จะไปชมประอาทิตย์ตกที่ผาหล่มสัก ควรเตรียมเสื้อกันหนาวและไฟฉายสำหรับใช้ส่องทางเวลาเดินกลับที่พัก ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง

ภูกระดึง, ผาหมากดูก

ผาหมากดูก 
ผาหมากดูก อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 2.5 กิโลเมตร เป็นผาที่มีลานหินกว้างขวาง เป็นผาสำหรับชมพระอาทิตย์ตกที่ใกล้ที่พักมากที่สุด สามารถชมทิวทัศน์ภูผาจิตในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ในช่วงต้นฤดูฝนจะมีดอกกระเจียวขึ้นเต็มทุ่งตามเส้นทางสู่ผาหมากดูก


ภูกระดึง, น้ำตกวังกวางน้ำตกวังกวาง 
ชื่อก็บอกอยู่แล้ว น้ำตกวังกวางอยู่ใกล้ที่พักศูนย์วังกวางมากที่สุด โดยมีระยะทางห่างแค่ราว 1 กิโลเมตรเท่านั้นเอง ห้วยเล็กๆ ที่โอบล้อมที่พักอีกด้านจะไหลลงน้ำตกที่นี่ วังกวางเป็นน้ำตกเล็กๆ ชั้นที่สูงสุด จะสูงประมาณ 7 เมตร ด้านข้างของน้ำตกมีทางแคบๆ สำหรับปีนลงไปทีละคน จะพบหลืบหินมีลักษณะคล้ายถ้ำใต้น้ำตก น้ำตกวังกวางจะมีความสวยงามมากในช่วง ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม บริเวณนี้จะมีทากชุม เพราะเป็นด่านช้าง หรือทางช้างเดิน ส่วนในฤดูท่องเที่ยวซึ่งเป็นฤดูแล้ง ปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมได้ง่ายใกล้ที่พัก

ภูกระดึง, น้ำตกถ้ำสอเหนือ

ภูกระดึง, น้ำตกถ้ำสอเหนือ

น้ำตกถ้ำสอเหนือ 
อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง 4.8 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลาง สูง 10 เมตร น้ำไหลมาจากผาเป็นม่านน้ำตก บริเวณเหนือน้ำตกมีดงกุหลาบแดง ซึ่งในช่วงฤดูร้อนจะผลิดอกสร้างสีสรรค์ให้ กับบริเวณนี้สวยงามยิ่งขึ้น

ภูกระดึง
น้ำตกเพ็ญพบใหม่ 
น้ำตกเพ็ญพบใหม่  เกิดจากลำธารวังกวาง น้ำตกผ่านผาหินรูปโค้ง ในหน้าหนาว ใบเมเปิ้ลที่อยู่บริเวณริมน้ำตก จะร่วงหล่นลอยไปตามผิวน้ำยามแดดสาดส่องผ่าน ลงมาจะเป็นสีแดงจัดตัดกับสีเขียวขจีของตะไคร่น้ำตามโขดหิน ลำธารวังกวางเป็นต้นกำเนิดน้ำตกที่มีชื่ออีกแห่งหนึ่ง คือ น้ำตกโผนพบ ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ โผน กิ่งเพชร นักชกแชมป์เปี้ยนโลกคนแรกของชาวไทยในฐานะเป็นผู้ค้นพบคนแรก เมื่อคราวที่ขึ้นไปซ้อมมวยให้ชินกับอากาศหนาว ก่อนเดินทางไปชกในต่างประเทศ
สระอโนดาด 
สระอโนดาด อยู่ ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว 2.7 กิโลเมตร เป็นสระน้ำขนาดไม่ใหญ่นักที่มีต้นสนขึ้นเป็นแนวแน่นขนัด ใกล้กันยังมีลานกินรี ซึ่งเป็นสวนหินธรรมชาติที่อุดมไปด้วยพรรณไม้ ทั้งพวกกินแมลงอย่างดุสิตา หยาดน้ำค้าง หรือเฟิร์น เช่น กระปรอกสิงห์ บนหินยังมีไลเคนขึ้นอยู่เต็มไปหมดด้วย

ภูกระดึง, สระอโนดาด
นอกจากที่เอ่ยมาแล้ว อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกรัตนา น้ำตกถ้ำสอเหนือ น้ำตกพระองค์ น้ำตกธารสวรรค์ ผาแดง ผาส่องโลก ผานาน้อย ผาจำศีล สวนสีดา ลานกินรี ลานวัดพระแก้ว และอีกมากมายบรรยายกันไม่หมด ดังนั้น ใครที่ชอบเดินป่า ปีนเขา และสัมผัสธรรมชาติแบบถึงเนื้อถึงตัว ภูกระดึง คงเป็นอีกหนึ่งสถานที่คุณจะพลาดไม่ได้ค่ะ


การเดินทาง ไปท่องเที่ยวภูกระดึง
รถโดยสารประจำทาง
โดยสารรถยนต์จากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) กรุงเทพมหานคร ไปลงที่ผานกเค้า ซึ่งเป็นเขตต่อแดนระหว่างชุมแพ-ภูกระดึง แล้วโดยสารรถประจำทาง(รถสองแถว) ไปลงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง จากนั้นก็เดินต่อขึ้นไปยอดภูกระดึงควรใช้รถประจำ หรือหากนักท่องเที่ยวใช้รถประจำทางเส้นทางกรุงเทพฯ-ขอนแก่น ลงที่ชุมแพ และต่อรถสายขอนแก่น-เลย ไปลงที่ตลาดอำเภอภูกระดึง ซึ่งจะมีรถสองแถวต่อถึงไปอุทยานฯ ปล. รถสองแถวแดงที่รับจ้างนำนักท่องเที่ยวส่งระหว่างจุดจอดรถที่ผานกเค้ามาที่ ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง คำแนะนำคือ ถ้าเรามาไม่กี่คนให้รวมทีมกับกรุ๊ปอื่นจะได้เฉลี่ยค่าสองแถวไม่ต้องเหมารถ ให้เปลืองสตางค์



รถไฟ
จากกรุงเทพมหานครโดยสารรถไฟไปลงที่ขอนแก่น จากนั้นโดยสารรถประจำทางสายขอนแก่น-เลย ไปยังหน้าตลาดที่ว่าการอำเภอภูกระดึง แล้วต่อรถสองแถว หรือเดินทางต่อไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นปีนเขาขึ้นยอดภู จากนั้นต้องเดินเท้าขึ้นยอดภู อีก 5 กิโลเมตร จึงจะถึง “หลังแป” แล้วเดินเท้าไปตามทุ่งหญ้าอีก 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่พักบนยอดภูกระดึงทางอุทยานฯ ได้จัดลูกหาบสัมภาระของนักท่องเที่ยวขึ้นไปบนยอดภูกระดึง คิดค่าบริการเป็นกิโลกรัม (วิธีนี้ปัจจุบันไม่ค่อยนิยม)

รถส่วนตัว
 เดินทางโดยรถยนต์ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง
        1. เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี เพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า ด่านซ้าย ภูเรือ และอำเภอเมืองเลย เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (เลย-ขอนแก่น) และเลี้ยวเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2019 เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

         2. ใช้เส้นทางผ่านจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา จนถึงจังหวัดขอนแก่นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูผาม่านและตำบลผานกเค้า เข้าสู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

         3. เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 ผ่านจังหวัดชัยภูมิ อำเภอภูเขียว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ จากนั้นเดินทางเช่นเดียวกับเส้นทางที่ 2

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ทั้งบนยอดภูกระดึง และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่ด้านล่าง ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.

ภูกระดึง


ค่าธรรมเนียม และ หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ลงนามในประกาศกรมอุทยานฯ เรื่องการกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับบุคคลเข้าไปในอุทยานฯ จำนวน 33 แห่ง โดยกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับบุคคลเข้าไปในอุทยานฯ คือ ชาวไทย ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 500 บาท เด็ก 300 บาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป (อัตราปัจจุบันคือ ชาวไทย ผู้ใหญ่ ราคา 40 บาท เด็ก 20 บาท ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเข้าฟรี  ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 400 บาท เด็ก 200 บาท)

อัตราค่าบริการรับจ้างหาบสัมภาระ กิโลกรัมละ 30 บาท 

นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเข้าไปท่องเที่ยวและพักแรมบนยอดภูกระดึง ขอให้ติดต่อ สอบถาม หรือสำรองการเข้าไปใช้บริการล่วงหน้า ทั้งที่พักประเภทเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติและพื้นที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำเต็นท์มาเองตามแผนผังจุดพักแรม ก่อนเดินทาง
ได้โดยตรง ณ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง โทรศัพท์หมายเลข 0-4287-1333 (ตลอด 24 ชั่วโมง) และหมายเลข 0-4287-1458 ระหว่างเวลา (07.00 น.-16.30 น.)

หรือติดต่อ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ททท. สำนักงานเลย
พื้นที่รับผิดชอบ : เลย,หนองบัวลำภู 
ที่ว่าการอำเภอเมืองเลย (ตึกเก่า) ถ.เจริญรัฐ อ.เมือง จ.เลย 42000 
โทรศัพท์. 0 4281 2812 
โทรสาร. 0 4281 1480 
อีเมลล์ : tatloei@tat.or.th

ท้ายสุดฝากไว้ สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากไปท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติบน ภูกระดึง ควรใช้เวลาอย่างน้อย 3 วัน จึงจะเที่ยวชมธรรมชาติได้ทั่วถึง ซึ่ง อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จะเปิดให้เที่ยวบนยอด ภูกระดึง ได้เฉพาะในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคมเท่านั้น ช่วงระหว่างมิถุนายนถึงกันยายนของทุกปี ทางอุทยานฯ จะปิดเพื่อปรับสภาพธรรมชาติ ให้ฟื้นตัวและปรับปรุงสถานที่พักสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว ฉะนั้น เช็คก่อนออกเดินทางกันด้วยล่ะ
ภูกระดึง

เส้นทางที่ต้องเดินขึ้นที่ยอดภูกระดึง
เป็นเส้นทางเก่าแก่และได้รับความนิยมมากที่สุด นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นเขาในเส้นทางนี้ได้ที่อำเภอภูกระดึง ณ ที่ทำการอุทยาน ในเส้นทางขึ้นจะมีบริเวณที่พักหลายช่วง โดยแต่ละช่วงจะเรียกว่า ซำ  ซึ่งหมายถึงบริเวณที่มีน้ำขัง มักเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่ามาพักกินน้ำ ปัจจุบันนักท่องเที่ยวจะต้องผ่านทั้งหมด 7 ซำ ไล่ตามความสูง จากน้อยไปมากได้ดังนี้   

ระยะทางเดินขึ้นเขา 5.5 กม. ทางราบ 3.5 กม.
ซำแฮก คำว่า แฮก นักท่องเที่ยวทั่วไปมักล้อเลียนว่ามีความหมายถึงอาการหอบ (ซึ่งคนเรามักจะออกเสียง แฮกๆ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า แฮก นี้หมายถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในภาษาท้องถิ่น ระยะทางที่ต้องเดินจากที่ทำการไปยังซำแฮกยาวประมาณ 1 กิโลเมตร

ซำบอน หมายถึงบริเวณที่ต้นบอนขึ้นเยอะ ระยะทางที่ต้องเดินจากซำแฮกไปยังซำบอนยาวประมาณ 700 เมตร

ซำกกกอก หมายถึงบริเวณที่ต้นมะกอกขึ้นเยอะ ระยะทางที่ต้องเดินจากซำบอนไปยังซำกกกอกยาวประมาณ 360 เมตร

ซำกกหว้า หมายถึงบริเวณที่ต้นหว้าขึ้นเยอะ. ระยะทางที่ต้องเดินจากซำกกกอกไปยังซำกกหว้ายาวประมาณ 880 เมตร

ซำกกไผ่ หมายถึงบริเวณที่ต้นไผ่ขึ้นเยอะ ระยะทางที่ต้องเดินจากซำกกหว้าไปยังซำกกไผ่ยาวประมาณ 580 เมตร

ซำกกโดน ระยะทางที่ต้องเดินจากซำกกไผ่ไปยังซำกกโดนยาวประมาณ 300 เมตร

ซำแคร่ ระยะทางที่ต้องเดินจากซำกกโดนไปยังซำแคร่ยาวประมาณ 588 เมตร 

โดยนักท่องเที่ยวจะต้องเริ่มจากที่ทำการไปยังซำแฮก และเดินขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงซำแคร่ ในแต่ละซำจะมีร้านค้าคอยให้บริการนักท่องเที่ยวเพื่อพักรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม และห้องน้ำ โดยหลังจากซำแคร่ซึ่งเป็นซำสุดท้ายนักท่องเที่ยวก็ต้องขึ้นไปอีกประมาณ 1020 เมตร เพื่อเข้าสู่ยอดเขาในส่วนที่เรียกกันว่าหลังแป ทางที่จะขึ้นไปยัง ซำแฮก และ หลังแป จะเป็นเส้นทางที่มีความชันมากที่สุด หลังจากขึ้นถึงหลังแป นักท่องเที่ยวต้องเดินทางราบอีกประมาณ 3.6 กิโลเมตรเพื่อไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบนยอดเขา เพื่อตั้งเต๊นท์หรือ ที่พักอาศัยอื่นๆ ณ จุดยอดเขานี้นักท่องเที่ยวจะสังเกตเห็นป่าสนมากมายเรียงรายกันตลอดทาง




เตรียมตัวก่อนขึ้นภูกระดึง
เตรียมตัวก่อนขึ้นภูกระดึง ระยะทางเดินขึ้นเขา 5.5 กม. ทางราบ 3.5 กม.

 สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมไปได้แก่
- เสื้อกันหนาว เอาแบบที่กันลมหนาวดีๆ นะครับ ถ้าจะให้ดีเอาแบบที่มีฮู้ดด้วยจะดีมาก เผื่อเอาไว้ใช้แทนหมวกในกรณีที่หมวกหาย หรือลืมหมวก

- หมวกไอ้โม่ง หรือไม่ก็หมวกไหมพรม แต่ส่วนใหญ่จะเห็นเป็นแฟชั่น ก็คือหมวก ไหมพรมที่มีขายอยู่แทบทุกร้าน มีปัก คำว่าภูกระดึงด้วย จะซื้อเป็นที่ระลึกหรือของฝาก ก็ดีเหมือนกัน เอาไว้ใส่เวลาไปเที่ยว จะได้ปิดหู มิฉะนั้นเวลาโดน อากาศหนาวๆ เย็นๆ หู อาจจะแข็งได้

- ถุงมือ เอาไว้กันหนาวมือน่ะครับ ถ้าไม่ได้เตรียมไป หาซื้อได้ที่ร้านบนภู ราคาประมาณ 25 บาท

- ยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งถ้าไม่ได้เตรียมไปหาซื้อได้ที่ร้านบนภู ราคาเม็ดละ 10 บาท

- ยานวด จำพวกเค้าเตอร์เพลน เอาไว้นวดกล้ามเนื้อที่ปวดเมื่อย

- ผ้ายืดสำหรับพันขา อาจได้ใช้ในการขึ้น-ลงภู เพราะว่าบางรายอาจมีอาการปวดมาก ถ้าได้ผ้ายืดจะช่วยได้มาก

- ถุงเท้า เอาไว้ใส่แทบจะทุกช่วงของวัน ช่วงกลางวันถ้าใส่รองเท้าผ้าใบก็ควรจะใส่ถุงเท้าด้วย ช่วงกลางคืนก็เอาไว้ใส่
   ตอนนอน จะกันหนาวเท้าได้ดีเช่นกัน

- โลชั่นทาหน้า มิฉะนั้นจะกลับมาหน้าไหม้เพราะลมหนาว แสบมากๆ จะได้รักษาหน้าให้ หล่อสวยด้วยนะครับ

- ลิปมัน ทาริมฝีปากกันปากแตก เพราะถ้าแตกแล้วจะกินอะไรไม่อร่อย แล้วก็รำคาญอีกต่างหาก

- ไฟฉาย และถ่านไฟฉายที่มีอายุการใช้งานนานๆ เพราะต้องใช้เวลาไปดูพระอาทิตย์ขึ้น หรือใช้ขากลับหลังจากดูพระอาทิตย์ตก หรือถ้าจะต้องไปไหนหลังจากช่วง 4 ทุ่มแล้ว เพราะหลังจาก 4 ทุ่ม ทางอุทยานฯ จะดับไฟ จะมีไฟแต่ที่ศูนย์บริการนักเที่ยว และที่ห้องน้ำเท่านั้น

- ที่ชาร์จแบตเตอร์รี่โทรศัพท์มือถือและกล้อง เอาไว้ไปขอบริการชาร์จได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งสามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่เต้าเสียบจะมีจำกัด ดังนั้นจะต้องเลือกช่วงเวลา ที่จะไปชาร์จดีๆ และเราต้องอยู่เฝ้าที่ชาร์จเองด้วย ไม่มีคนดูให้นะครับ อย่างเราจะชอบไปชาร์จ ตอน 3 ทุ่ม หรือกว่านั้น เพราะแทบจะไม่มีคนเลย แต่ช่วง9-10 โมงเช้า จะค่อนข้างมีคนใช้บริการ เยอะ เผลอๆ ไม่มีเต้าเสียบเหลืออีก ก็ต้องรอกันไป นอกจากนี้ก็สามารถใช้ บริการที่ร้านต่างๆ บนภูได้เช่นกัน บางร้านอาจให้บริการฟรี บางร้านอาจคิดเงิน แต่ร้านค้าก็จะมีไฟฟ้าใช้แค่ ช่วง 6โมงเย็น ถึง 4 ทุ่มเท่านั้นนะครับ

- สบู่หรือครีมอาบน้ำที่ล้างออกง่ายๆ เนื่องจากจะได้ไม่ต้องทนหนาวกับน้ำที่ล้างตัวมากเกินไป  ถ้าไม่เชื่อจะลองก็ได้นะครับ แล้วจะรู้ว่าหนาวจนปวด หรือที่เรียกกันว่าหนาวจนเข้ากระดูก น่ะเป็นอย่างไร อิอิ จากนั้นก็เตรียมตัวเดินทางกันเลยครับ

ภูกระดึง



ภูกระดึง


แผนที่ภูกระดึง 

ภูกระดึง
ที่มา  www.เที่ยวเลย.com/2011/05/blog-post_26.html

                                 
อุทยานภูผาม่าน เป็นอุทยานแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 72 ตรกม.หรือ 45,000 ไร่ ครอบคลุม พื้นที่อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลยนก และเขตอำเภอภูผาม่าน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีที่ทำการชั่วคราวตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 201 สาย เลย-ชุมแพ ประมาณกม.ที่ 264-265 ห่างจากผานกเค้าเพียงไม่กี่กม.
สถานที่น่าสนใจในอุทยาน มีถ้ำต่าง ๆ หลายแห่งเช่น ถ้ำปู่หลุบ ซึ่งอยู่ติดกับที่ทำการอุทยานฯ มีหินงอก หินย้อยสวยงาม บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีน้ำไหลรินอยู่ตลอดเวลา ถ้ำผาพวง เป็นถ้ำที่สวยงามซึ่งปากทางเข้า อยู่ฝั่งตรงข้ามที่ทำการอุทยานฯ นอกจากนี้มีถ้ำลายแทงอันเป็นถ้ำที่มีภาพเขียนสีโบราณบนผนังถ้ำ และรอบชายเขตอุทยานฯ มีน้ำตกที่งดงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกตาดฮ้อง น้ำตกตาดฟ้า และน้ำตกเขาสามยอด เป็นต้น
แมงปอเนื่องจากเป็นอุทยานฯ ซึ่งเพิ่งก่อตั้งใหม่ การเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ จึงยังลำบากทุรกันดาร ทั้งยังไม่มีที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว ผู้สนใจเที่ยวชมควรเตรียมพร้อมในทุกด้าน
 ถ้ำมโหฬาร
อยู่ที่บ้านหนองหิน ตำบลหนองหิน ตั้งอยู่ในบริเวณวัดถ้ำมโหฬาร การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 201 (เลย-ชุมแพ) พอถึงกม.ที่ 304-305 เลี้ยวซ้ายเข้าไปตามทางราดยาง ประมาณ 2 กม. ห่างจากอำเภอภูกระดึง 45 กม. ภายในถ้ำมีบริเวณกว้างขวาง มีถ้ำเล็กถ้ำน้อยสลับซับซ้อน มากมาย
 น้ำตกสวนห้อม
หรืออีกชื่อหนึ่ง น้ำตกสันติธารา อยู่ที่บ้านสวนห้อม การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับถ้ำโพธิสัตว์ แต่อยู่เลยไป ห่างจากอำเภอภูกระดึง 52 กม. อยู่ทางขวามือเข้าไปอีก 500 เมตร น้ำตกสวนห้อม เป็นน้ำตกขนาดกลาง มองเห็นได้แต่ไกล ไหลตกลงมาเป็นชั้น ๆ บริเวณน้ำตกร่มรื่นเหมาะแก่การ พักผ่อน
 สวนหินผางาม
ตั้งอยู่ที่บ้านผางาม หมู่ 10 ตำบลปวนพุ การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับน้ำตกสวนห้อม อยู่เลยไป ประมาณ 3 กม. ห่างจากอำเภอภูกระดึง 55 กม. เป็นสวนหินครอบคลุมพื้นที่กว้างพอสมควร ประกอบด้วยภูเขาขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ กระจายอยู่ทั่วบริเวณภูเขาบางลูก สามารถเดินผ่านทะลุได้ สวนหินแห่งนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า กุ้ยหลินเมืองเลย
 ถ้ำโพธิสัตว์
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดถ้ำโพธิสัตว์ บ้านปวนพุ ตำบลปวนพุ การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับถ้ำมโหฬาร แต่อยู่เลยไปห่างจากปากทางราว 9 กม. จะมีทางแยกขวาเข้าไปตามทางลูกรัง 600 เมตร แล้วเลี้ยวซ้ายอีก 1.4 กม. ก็จะถึงถ้ำ ห่างจากอำเภอภูกระดึง 47 กม. ถ้ำแห่งนี้มีถ้ำเล็กถ้ำน้อยเรียงรายอยู่ใต้ยอดเขาทั้งหมด 15 คูหา แต่ละคูหามีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น เขาวงกต ถ้ำลับแล สวรรค์ชั้นต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหินย้อยรูปร่างสวยงามแปลกตาอีกมากมาย การเข้าชมนั้นควรติดต่อกับทางวัดก่อน เนื่องจากไม่มีไฟฟ้า และการเดินถ้ำวกวนมาก ใช้เวลาในการเดินชมอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
 น้ำตกเพียงดิน หรือน้ำตกวิสุทธารา
เป็นแหล่งท่องเที่ยวสุดท้ายของเส้นทางนี้ อยู่เลยสวนหินไปเพียงเล็กน้อย การเดินทางจากน้ำตก สวนห้อมเลยไปอีก 2.8 กม. จะมีทางแยกลูกรังขวามือ และมีป้ายเขียนว่า ถนนสุทธิสุวรรณ เข้าไปอีก 4 กม. ก็จะถึงน้ำตก น้ำตกเพียงดินเป็นน้ำตกขนาดกลาง แต่มีด้วยกันหลายชั้น บางชั้นก็ต้องปีนป่าย บางชั้นก็มีน้ำใสไหลเป็นแอ่ง ลงเล่นน้ำได้ไม่อันตราย บรรยากาศโดยรอบร่มรื่น เหมาะสำหรับพักผ่อน นั่งรับประทานอาหาร







ภาพพระธาตุศรีสองรักพระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย  จังหวัดเลย สร้างเมื่อ  ..2103  แล้วเสร็จเมื่อ พ.. 2106 ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์แห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อเป็นสักขีพยานแสดงความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างกัน กับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต  (เวียงจันทร์)ประวัติความเป็นมาของพระธาตุศรีสองรักพระธาตุศรีสองรัก  เป็นเจดีย์ที่ก่อด้วยอิฐถือปูนมีฐานเป็นเหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละประมาณ  8 เมตร  สูงประมาณ 32  เมตร  อยู่ห่างจากที่ตั้งจังหวัดเลยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1กิโลเมตรและอยู่ห่างจากที่ตั้งจังหวัดเลยไปทางทิศตะวันตก ประมาณ  83  กิโลเมตร  องค์พระเจดีย์ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุศรีสองรักบนเนินริมน้ำหมัน  ซึ่งเป็นวัดที่ไม่มีพระภิกษุพำนักอยู่ในวัดนอกจากองค์พระเจดีย์แล้ว  ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีโบสถ์   หลัง  ภายในโบสถ์มีพระพุทธรูปนาคปรก   องค์  และพระพุทธรูปอื่น ๆ อีกบ้าง  และถัดองค์พระเจดีย์ไปทางทิศตะวันตกมีศิลาจารึก  1  แผ่น  ซึ่งจารึกตำนานการสร้างพระธาตุศรีสองรักด้วยอักษรธรรมอยู่ด้วยบริเวณรอบๆ พระธาตุศรีสองรัก
พระธาตุศรีสองรัก  ได้สร้างขึ้นในแผ่นดินของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ผู้ครอบครองกรุงศรีอยุธยาแห่งอาณาจักรสยามสมัยนั้น  และพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทร์) แห่งอาราจักรล้านช้างสมัยนั้น  เพื่อเป็นสักขีพยานในการทำสัญญาทางพระราชไมตรี  และเป็นด่านกั้นเขตแดนของสองพระนครใสสมัยโน้น  ทั้งนี้เนื่องจากในระหว่างที่กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ครองราชสมบัติ  ตรงกับสมัยที่พม่าเรืองอำนาจ  เพราะพม่ามีกษัตริย์ที่เข้มแข็งในการสงครามปกครองคือ  พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้  และพระบุเรงนองได้ยกทัพมารุกรานกรุงศรีอยุธยาและกรุงศรีสัตนาคนหุตหลายคราว  สมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  ด้านหน้าบันไดก่อนเข้าตัวพระธาตุศรีสองรักจึงทำไมตรีกัน  เพื่อร่วมกันต่อสู้กับพม่าและเพื่อเป็นที่ระลึกในการทำไมตรีกันครั้งนี้  ได้ทรงร่วมกันสร้างพระเจดีย์ขึ้นเป็นสักขีพยานจึงได้ขึ้นชื่อว่า  พระธาตุศรีสองรัก  ตามตำนานกล่าวไว้ว่าได้สร้างขึ้น  ณ ที่กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำน่านบนโคกไม้ติดกัน  เริ่มสร้างแต่ พ.. 2103  ตรงกับปีวอก  โทศก  จุลศักราช 922  และเสร็จเมื่อ พ.. 2106  ตรงกับปีกุล  เบญจศก   จุลศักราช   925  ในวันพุธขึ้น  14 ค่ำ เดือน  6 และได้ทำพิธีฉลองสมโภชในวันพฤหัสบดี  ขึ้น  15 ค่ำ  เดือน  6การสร้างพระธาตุศรีสองรัก  นับเป็นสักขีพยานในความรักใคร่ของชนชาติเผ่าลาวในดินแดนล้านช้างสมัยนั้นอีกมุมลานเดินเข้าสู่ตัวพระธาตุศรีสองรัก  มาตั้งแต่โบราณการเป็นอย่างดี  และพระธาตุศรีสองรักนี้  ประชาชนในท้องที่จังหวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือ  เป็นปูชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในวันเพ็ญเดือน   จะการทำพิธีสมโภชและนมัสการพรเจดีย์ขึ้นทุกปีจนถือเป็นประเพณีตลอดมาจนทุกวันนี้  พระธาตุศรีสองรัก  นับแต่สร้างมาจนถึงปัจจุบันนี้นับได้  400  ปีเศษ  นอกจากเป็นปูชนียสถานสำคัญของอำเภอด่านซ้าย  ยังเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของจังหวัดเลบริเวณลานหญ้าด้านหน้าตัวพระธาตุศรีสองรัก
 ที่มา www.tessabandansai.com/phratad.htm